(click to zoom)
Related article:
Supap Khaw-Ngam & Ardbohill Lad won B.Grimm CCI* Pattaya 2011
********
(click to zoom)
(click to zoom)
Related article:
Gold Medal for Thailand Dressage Team and Bronze Medal for Individual (Col. Fuangvich Aniruth-Deva) at SEA Games 1995 in Chiang Mai. Photo courtesy of Hans Staub. สำหรับการบรรยายใน Dressage Forum ปี 2009 ในหัวข้อ Freestyle to Music นั้น ได้รับความสนใจจากทั้งนักกีฬา ผู้ปกครองรวมทั้งบุคคลภายนอกที่เข้าร่วมฟังการบรรยายกว่า 30 คน ฮันส์มานั่งพูดคุยอย่างเป็นกันเอง โดยเริ่มตั้งแต่นิยามของการแข่งขันประเภทนี้ “Freestyle to Music ก็คล้ายๆกับการแข่งขันเดรสซาจชั้นสูงแบบดั้งเดิมที่การเคลื่อนไหวทั้งหมดนั้นเกิดจากท่าทางตามธรรมชาติของม้าครับ” ฮันส์เริ่มเล่า “ในปีค.ศ. 1986 ทางสหพันธ์ขี่ม้านานาชาติต้องการปรับให้กีฬาเดรสซาจน่าสนใจมากขึ้น ก็เลยกำหนดการแข่งขันที่เรียกว่า Freestyle to Music ขึ้นมาสำหรับเป็นบททดสอบเดรสซาจแบบใหม่ในระดับกรังซ์ ปรีซ์ (Grand Prix) โดยเพิ่มเสียงเพลงเข้าไปในการแข่งขันด้วย ” หรือพูดง่ายๆก็คือปรับให้ม้าเต้นไปตามจังหวะเพลงนั่นเอง การแข่งขันประเภทนี้พิจารณาจังหวะการก้าวเท้าและการเคลื่อนไหวหลักๆของม้า และนักกีฬาจะมีอิสระในการเลือกรูปแบบการนำเสนอเองได้โดยอยู่ภายในขอบเขตของกฏทางด้านเทคนิคที่กำหนดไว้ ทางคณะกรรมการจะดูจากความผสานกลมเกลียวกันระหว่างนักกีฬาและม้ารวมถึงความลื่นไหลในการเปลี่ยนจังหวะด้วย ปัจจุบัน Freestyle to Music จัดการแข่งขันทั้งในระดับ Pony, Junior, Young Rider, Intermediate 1 รวมทั้งระดับ Grand Prix ด้วย ในฐานะนักกีฬาและครูฝึกผู้ช่ำชองในกีฬาประเภทนี้ ฮันส์ได้เน้นย้ำว่า สิ่งที่สำคัญมากที่สุดสิ่งหนึ่งที่มีผลแก่ชัยชนะคือการเลือกเพลงที่ใช้แข่งขัน “Freestyle to Music ต้องมีธีมครับ เราควรจะเลือกเอาเพลงแนวเดียว ไม่ใช่เอาหลายแนวมาผสมกัน เพลงที่ใช้ในการแข่งขันควรเหมาะกับทั้งนักกีฬาและการเคลื่อนไหวของม้า และหากต้องการทำให้สมบูรณ์ควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการตัดต่อเพลงทำให้ เราต้องมองจังหวะขาหน้าของม้าให้ออกแล้วหาจังหวะเพลงที่คล้องกันพอดี และเด็กๆก็อย่าฝืนเลือกเพลงคลาสสิกแต่ควรเลือกเพลงสบายๆจังหวะสนุกๆสมวัยจะดีกว่าครับ” โดยคะแนนการตัดสินจะแบ่งออกเป็นด้านเทคนิคอันเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของม้า ด้านศิลปะอันประกอบด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างนักกีฬากับม้า การเข้าจังหวะ ความยากง่ายของท่าเต้น รวมไปถึงการตีความเพลงออกมาเป็นท่าทางการเคลื่อนไหว “คุณต้องเดาทางออกว่ากรรมการอยากเห็นอะไรและก็ควรเตรียมพร้อมตั้งแต่ขั้นตอนออกแบบท่าเลย พอเลือกจังหวะที่เหมาะกับทั้งคนและม้าได้ก็ต้องวางจุดจังหวะว่าเราจะเล่นจังหวะไหน ณ จุดใดในสนาม โดยควรจะกำหนดการเคลื่อนไหวให้กระจายครอบคลุมบริเวณสนามให้มากที่สุดและกำหนดจังหวะยากง่ายสลับกันไปให้ดูสมดุล ถ้าไม่มั่นใจว่าจะทำท่าที่ยากและซับซ้อนได้ แนะนำให้ขี่ด้วยท่าที่เรียบง่าย ทำให้ออกมาดูเหมือนเราสบายๆ ขี่ด้วยความสนุกและมั่นใจครับ” ฮันส์บอก “ในการให้คะแนน ท่าที่ยาก และซับซ้อนจะได้คะแนนสูงกว่า แต่ในขณะเดียวกัน ความผิดพลาดเกิดขึ้นง่ายกว่า เป็นความเสี่ยงของผู้ขี่ในการออกแบบวางแผน ว่าจะทำอย่างไรให้ได้คะแนนสูงที่สุด และไม่มีข้อผิดพลาด” “และสิ่งสุดท้ายที่พึงเตือนตัวเองตอนแข่งคือ ในการออกแบบการขี่ freestyle ระยะเวลาในการ show ไม่ควรเกินเวลาที่กำหนดไว้เด็ดขาด โดยแต่ละ level จะกำหนดเวลาไว้ไม่เท่ากัน” ฮันส์ทิ้งท้าย ได้ครูดีๆมาสอนให้ถึงที่แบบนี้แล้ว การขี่ม้าเดรสซาจในเมืองไทยคงจะเขยิบไปข้างหน้าได้อีกนิดหนึ่ง... ทีนี้ก็ได้แต่ฝากความหวังไว้กับคนในวงการขี่ม้าในการช่วยประชาสัมพันธ์ให้กีฬาขี่ม้าเดรสซาจบ้านเราขยายวงกว้างขึ้น เราจะได้มีนักกีฬาเก่งๆ ที่จะมาผนึกกำลังช่วยรุ่นพี่ไปคว้าชัยในระดับนานาชาติเพิ่มขึ้นไปอีกในอนาคตให้สมศักดิ์ศรีนักกีฬาเดรสซาจไทยที่ไม่เป็นรองใครในภูมิภาค! กฎรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://www.fei.org/disciplines/dressage/rules Dressage Clinic by Hans Staub : 30 July to 2 August 2011 ******************* ภาพบรรยากาศจากการแข่งขันเดรสซาจที่รายการ President's Cup ปี 2009 โดยมี ฮันส์ สเตาบ์ เป็นกรรมการตัดสินในรุ่น Preliminary, Novice, Elementary และ Prix St. George ******************* |