Monday, January 17, 2011

ความรู้เรื่องการทำฟันม้า กับ หมอตั้ม --Horse Dental Care with Dr.Tum




มีใครยังไม่เคยทำฟันม้ากันบ้างครับ ถ้าพูดถึงเรื่องทำฟันม้าแล้ว คงไม่มีใครไม่นึกถึง "คุณหมอตั้ม" หรือ อาจารย์   น.สพ.ธีรพล ชินกังสดาร มือหนึ่งของประเทศไทยด้านการทำฟันม้า ที่เพิ่งได้รับทุนไปเรียนต่อปริญญาเอกทางด้านการทำฟันม้าโดยเฉพาะ


นอกเหนือจากการทำฟันม้าแล้ว คุณหมอตั้มยังมีความเชี่ยญชาญอีกหลายอย่างในเรื่องการแข่งขันขี่ม้า  หลายๆคนคงเคยได้เห็นคุณหมอตั้มตามงานแข่งอยู่บ่อยๆ ไม่่ว่าจะเป็นงาน Endurance หรือ Eventing เค้าทำหน้าที่ แพทย์สนาม และ Chief Steward หรือเจ้าหน้าที่ควบคุมการแข่งขัน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สำคัญมากต่อสวัสดิภาพม้าและนักกีฬา


สำหรับบทความวันนี้ เราได้รับเกียรติจากหมอตั้ม มาให้ความรู้กับเราเรื่องการทำฟันม้า และดูแลสุขภาพฟันม้าครับ

**************

การทันตกรรมสำหรับม้า
เรียบเรียงโดย
น.สพ.ธีรพล ชินกังสดาร (หมอตั้ม) D.V.M. (Equine Dentist) โทร 089-452-5565
Facebook : Tee Chin
ลักษณะของฟันม้า; The horse’s teeth
ม้ามีลักษณะของฟันที่ต่างจากคนเรา ตรงที่ฟันของม้าจะมีการเจริญจนกระทั่งหมดอายุของฟัน (20-30 ปี) การเคี้ยวของม้าจะเป็นแบบการบดจากด้านข้างทำให้เกิดการแหลมคมของแนวขอบฟัน แนวฟันบนจะมีคมด้านนอก แนวฟันด้านล่างจะมีคมด้านใน การแหลมคมของฟันที่เกิดขึ้นนี้อาจก่อให้เกิดความเจ็บปวด จากแผลในช่องปากได้
ในธรรมชาติม้าเป็นสัตว์ที่มีการแทะเล็มหญ้าเป็นเวลา 12-16 ชั่วโมง ต่อวัน ซึ่งการเคี้ยวหญ้านี้ทำให้เกิดการสึกหรอของฟันตามธรรมชาติ แต่ในการเลี้ยงม้าแบบโรงเรื่อน โดยให้อาหารเม็ดเป็นหลัก การเคี้ยวจะลดลงทำให้การสึกหรอของฟันม้าไม่มีมากเท่าที่ควรมี จึงก่อให้เกิดการแหลมคมของฟันม้า นอกจากนี้การสบฟันที่ไม่ดีจากการเคี้ยวที่ไม่สมดุลนี้ ยังก่อให้เกิดการขัดขวางการกินของม้า ทำให้ม้าไม่ได้รับสารอาหารในปริมาณที่ควรจะได้ และอาจก่ให้เกิดภาวะต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ภาวะขาดสารอาหาร, ภาวะเสียด เป็นต้น

การดูแลฟันม้าเพื่อประสิทธิภาพ; PerformanceDentistry/Maintainance
การดูแลสุขภาพฟันม้าควรทำทุก 6-12 เดือน เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาทางช่องปากที่อาจเกิดขึ้นได้ 
การดูแลฟันม้าประกอบไปด้วย
  • การตรวจลักษณะของฟันเบื้องต้น เพื่อสังเกตุการสบฟันซี่ต่างๆของม้า, รวมถึงความผิดปกติอื่นๆที่อาจพบได้ เช่น ฟันโยก, การติดเชื้อของฟัน, โรคเหงือก เป็นต้น
  • การจัดการลบคมของฟันม้า เพื่อให้ม้าสามารถเคี้ยวอาหารได้อย่างเต็มที่, และยังเป็นการจัดการกับส่วนแหลมคมต่างๆของฟันที่อาจก่อให้เกิดแผลในช่องปาก ได้
  • การถอนฟัน สำหรับซี่ที่มีปัญหา และอาจก่อให้เกิดปัญหาในภายหน้าได้
  • การทำประวัติฟันม้า เพื่อเป็นประวัติในการอ้างอิง การรักษาต่าง สำหรับการดูแลอย่างต่อเนื่องในอนาคต
  • การแก้ไขภาวะการสบฟันที่ผิดปกติต่างของม้า

Bit Seat
คือ การแต่งฟันเพิ่มเติมสำหรับฟันกรามซี่แรก ให้มีความเรียบในทุกด้านเพื่อเป็นการให้ความสะดวกสบายแก่ม้าให้มากที่สุดขณะ ที่มีการใช้เหล็กปาก กล่าวคือ ในขณะที่เราบังคับมา เราจะดึงเหล็กปากเข้าหาตัวเพื่อให้เกิดการทำงาน การดึงนี้เองจะทำให้ริมฝีปากด้านข้างถูกรั้งเข้าหาฟันกรามซี่แรก และถ้าหากฟันซี่แรกมีความไม่เรียบ ม้าอาจเกิดความไม่สบาย และสงผลต่อการบังคับม้าแก่นักกีฬาที่ต้องการการควบคุมที่ดีที่สุด

การวางยากับการทำฟัน
ในการตรวจช่องปากที่ดีที่สุดคือ การให้ความร่วมมือจากม้ามากที่สุด การวางยาโดยสัตวแพทย์เพื่อการตรวจด้านทันตกรรม คือวิธีการควบคุมม้าที่ปลอดภัยที่ ทั้งต่อตัวม้าเองจากการตื่นตกใจ และความกลัว และสัตวแพทย์ผู้ทำการตรวจรักษา ดั่งคำที่ว่า “Sedative is the best tool to high quality equine dentistry”

แผลหลุมที่กระพุ้งแก้มจากฟันบาด

 แม้แต่ม้าน้อยก็ต้องทำฟัน


การตะไบลบคมของฟันม้า


ฝีรากฟัน

1 comment:

  1. เยี่ยมมากครับอาจารย์

    ReplyDelete