Wednesday, January 5, 2011

From Dressage to Eventing (Part 2) : ต่อ เฉลิมฉาน กับประสบการณ์จาก Adelaide 4-star Eventing


เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คุณต่อ
เฉลิมฉาน ยศวิริยะพาณิชย์ ได้เล่าประสบการณ์จากการไปทำงานด้าน Eventing ที่งานแข่งขัน Australian International 3 Day Event ที่เมือง Adelaide ประเทศ Australia เรื่อง Part I : จุดเริ่มต้นของการเดินทาง และการเตรียมการแข่งขัน ไปแล้ว สัปดาห์นี้ เป็นตอนจบครับ







 

ประสบการณ์จาก Adelaide 4-star Eventing -- “Australian International 3 Day Event” (AI3DE)

โดย Tor Chalermcharn

Part II : การทำงานใน Cross Country กับ Course Designer และ ความประทับใจจากงาน AI3DE 2010 ที่ Adelaide



ความเดิมจากตอนที่แล้วที่ผมได้มีโอกาสไปทำหน้าที่ Technical Delegate (TD) ที่งาน Australia International Eventing 2010(Adelaide)

หลังจากเครื่อง landing ที่สนามบิน Adelaide ตอนสายๆ Mr. Andy Griffith (President ขององค์กร IEOC หรือ International Eventing Officials Club) ก็มารับ แล้วพาผมตรงไปที่สนามแข่งทันทีและเริ่มแนะนำผมให้รู้จักกับทีมงานแต่ละส่วน ซึ่งในวันที่ผมไปถึงเมือง Adelaide เจ้าหน้าที่ยังมากันไม่ครบ ส่วนใหญ่จะมา3-4วันก่อนแข่ง ส่วนพวกTD อย่างเรา ต้องไปถึงงานล่วงหน้า 10 วัน เพื่อตรวจเช็คและดูแลทุกอย่างให้แน่ใจว่าการแข่งขันจะเป็นไปอย่างเรียบร้อย ทั้งในเรื่องเทคนิคการแข่งขัน รวมถึงเรื่องคอกม้า ผู้ชม ที่จอดรถ รถพยาบาล ตำรวจ การขนส่ง อาหาร เครื่องดื่ม ฯลฯ



เริ่มแรกคือการสำรวจสนาม Cross Country ของทั้ง 3 รุ่น คือ CCI 4* / CCI 2* / CIC 2* ในรอบแรกผมทำการวัดระยะทางทั้งหมด โดยการ “เดิน” ทั่วทั้งcourse ซึ่งรวมแล้วกว่า 12 Km. หลังจากนั้นก็สำรวจเครื่องกระโดดแต่ละเครื่องว่ามีลักษณะหน้าตาเป็นอย่างไร สูงเกินไปไหม ยากหรือง่ายเกินไป อันตรายหรือเปล่า ซึ่งทั้งหมดผมจดรายละเอียดต่างๆใส่ในกระดาษเพื่อไว้ใช้เป็นข้อมูลในการประชุมกับ Course Designer

XC track

สำหรับ Course Designer (CD) ของการแข่งขันครั้งนี้คือ Mr. Wayne Copping คนเดียวกับที่ออกแบบสนามที่ Thai Polo ที่เราใช้แข่งขันซีเกมส์ปี 2007 อย่างที่เล่าในตอนที่แล้ว ว่าทาง Organizer และฝ่ายรัฐบาลสนับสนุนให้ใช้สวนสาธารณะในการแข่งขัน Eventing ที่Adelaide เพราะฉะนั้น เครื่องกระโดดทั้งหมดจึงเป็นเครื่องที่สร้างใหม่ทั้งหมด ไม่มีของเก่าจากปีก่อนๆเลย CD เล่าว่าเค้าเตรียมงานในการออกแบบมาทั้งหมด 6 เดือน และเริ่มสร้างเครื่องกระโดดล่วงหน้าถึง 2 เดือน โดยในการออกแบบ CDจะต้องใช้จินตนาการสูงมาก เพื่อออกแบบว่า ม้าที่แข่งควรผ่านการทดสอบอะไรบ้าง หน้าตาเครื่องกระโดดต้องออกมาอย่างไร คนดูจะยืนดูตรงไหน เครื่องไฮไลท์มีอะไรบ้าง มีปัจจัยอีกมากมายให้ต้องคิดถึง

ในขณะเดียวกัน การทำงานร่วมกันกับ CD ผมก็ต้องคำนึงถึงหลายประเด็นเพื่อปรับเปลี่ยน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องกระโดดบางเครื่อง เช่น บางเครื่องต้องปรับเพื่อความปลอดภัยของม้า บางเครื่องสูงเกินไป บางเครื่องระยะสั้นไป ก็ต้องปรับให้อยู่ในระยะที่เหมาะสม แต่การที่จะคุยกับ CD ให้เค้าเปลี่ยนแปลงอะไร เราจำเป็นต้องให้เหตุผลที่ชัดเจนและคำนึงถึงความจำเป็นจริงๆ ถึงแม้ว่าตามกฎแล้วหน้าที่ของTD สามารถชี้ขาดและสามารถยืนยันในการเปลี่ยนแปลงก็ตาม แต่ในการทำงานร่วมกัน เราจำเป็นจะต้องให้เกียรติกันและทำงานให้เป็นทีม เราอาจมีเหตุผลของเรา แต่เค้าก็มีเหตุผลของเค้าเช่นกัน เพราะฉะนั้นในการหาข้อสรุปจะต้องให้ทุกฝ่ายเห็นพ้องกันด้วยถึงจะจบ

เครื่อง Double Corner

ยกตัวอย่าง มีเครื่องกระโดดเครื่องนึง เป็นเครื่อง Double Corner ตอนพวกเรา TD และ Judgeวัดระยะโดยการเดินจากระยะที่ม้าเริ่มก้าวกระโดด ถึงเครื่องกระโดด เราวัดได้ 3 ก้าวครึ่ง (stride) แต่ทาง CD ให้เหตุผลว่าการขี่จากเครื่องก่อนหน้ามาถึงเครื่องนี้ จะทำให้วัดระยะได้ 4 ก้าว เมื่อความเห็นไม่ตรงกัน คณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จึงมาประชุมกันที่เครื่องนี้เกือบครึ่งวันเพื่อหาข้อสรุป โดยเสียงจากทาง TD และJudge เห็นว่าควรเลื่อนระยะออกไป เพื่อความปลอดภัยของม้าและคนขี่ แต่ทางCD บอกว่าไม่น่าจะเป็นอะไรถ้าคนขี่สามารถคุมม้าได้ อีกอย่างเครื่องนี้เป็นเครื่องที่ใหญ่มากถ้าจะย้ายต้องใช้รถยกจะเสียเวลามากซึ่งเวลาเราก็เหลือน้อยแล้ว ในที่สุดก็หาข้อสรุปได้โดยทุกฝ่ายลงความเห็นว่ายังไงเราก็ต้องทำการแก้ไขเครื่องนี้ ถึงแม้จะต้องเสียเวลาก็ตาม เพื่อให้มั่นใจว่าคนขี่และม้าที่เข้าแข่งขันจะได้รับความปลอดภัยมากที่สุด


Andy & Tor -- the 2 TDs riding panda @ the XC


Official dinner at Thai restaurant

จบการแข่งขันทั้ง 3 วัน รวมกับระยะเวลาอีก 10กว่าวันที่ได้ใช้ชีวิตแบบ24/7 ร่วมกับมือหนึ่งวงการEventing ของโลก อย่าง Andy Griffith ทำให้ผมได้รับความรู้และข้อคิดอีกมากมาย อีกทั้งยังประทับใจในความเป็น professional ของทีมงานทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น judge, TD, CD, jump judge, หมอ/พยาบาล, ตำรวจ, organizer, sponsor, นักกีฬา และแม้แต่คนดู ที่ทุกคนรู้หน้าที่ของตัวเองเป็นอย่างดี ซึ่งทำให้การแข่งขันในระดับโลกอย่างนี้ประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี

Officials lined up for Trophy presentation


(left to right) Heath Ryan, Chris Burton , Stuart Tinney, Wendy Schaeffer, Emma Mason

ประสบการณ์จากการทำงานครั้งนี้ สอนผมว่าจะอย่างไรก็แล้วแต่ ความปลอดภัยของม้าและคนขี่ต้องมาอันดับหนึ่งเสมอ และการทำงานทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ผมเคยถามเค้าว่าถ้าเราไม่แก้ไข ปล่อยไปอย่างนั้น แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้นจะเป็นอย่างไร คำตอบคือทางFEI จะเข้ามาสอบสวน ว่าเครื่องกระโดดเป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่ ถ้ามันสูงหรือไม่ได้มาตรฐานแล้วมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น นอกจากความเสียหายอันใหญ่หลวงที่เกิดกับนักกีฬาและม้าแล้ว ทางเจ้าหน้าที่ซึ่งก็คือ TD ต้องเป็นผู้รับผิดชอบไปเต็มๆ เพราะฉะนั้น ทางกรรมการและผู้จัดงานต้องรอบคอบ และคำนึงถึงความปลอดภัยของม้าและคนขี่เป็นหลัก ในขณะเดียวกันคนขี่ก็ต้อง “มีสติ” ไม่ใช่ว่าใช้แต่เพียงความกล้าในการขี่เท่านั้น แต่ยังต้องมีการวางแผนที่ดีและคำนึงถึงผลลัพธ์ที่จะตามมาด้วย

จบแล้วครับ หวังว่าท่านผู้อ่านคงได้เกร็ดความรู้และหลักของกีฬา Eventing บ้างนะครับ ผมถือโอกาสนี้นำวีดีโอคลิปของWayne Copping ที่พูดถึงสนามXCที่เค้าออกแบบ รวมถึงภาพบรรยากาศงาน และการแข่งขันShowjumpingในวันที่สามของรายการนี้มาให้ชมด้วย ขอให้สนุกครับ

Course Designer, Wayne Copping, talking about the XC at AI3DE



Showjumping Showdown on Day Three, Atmosphere & People



Wendy Schaeffer and Koyuna Sun Dancer - Winners of CCI 4*

Chris Burton and Newsprint - Winners of CCI 2*

Shane Rose and Statford Neo - Winners of CIC 2*

No comments:

Post a Comment