Sunday, December 15, 2013

Myanmar SEA Games 2013 #13 : Competition Review after Endurance & Dressage Competition

Wunna Theikdi Equestrian Venue for SEA Games 2013 in Myanmar

สำหรับประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซีเกมส์ถือเป็นมหกรรมกีฬาที่ใหญ่ที่สุด เป็นรองก็แค่เพียง เอเชียนเกมส์ และ โอลิมปิคเกมส์ เท่านั้น  ที่ผ่านมากีฬาขี่ม้าถูกบรรจุในซีเกมส์ ตั้งแต่ปี 1983*, 1995, 2001, 2005, 2007, 2011 และ ณ วันนี้ ปี 2013 โดยครั้งนี้เจ้าภาพจัดขึ้นโดยใช้ระะบบม้ากลางซึ่งนักกีฬาแต่ละทีมจะได้จับฉลากเพื่อใช้ในการแข่งขัน

*การแข่งขันขี่ม้าซีเกมส์ 1983 ที่สิงคโปร์ จัดการแข่งขันขี่ม้าครั้งแรกร่วมกับการแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโล

Endurance :: มาเลเซีย โค่นไม่ลง

Malaysian rider Sulaiman Muda won the Individual Gold from Endurance

เริ่มการแข่งขันด้วยกีฬาขี่ม้าเอ็นดูแรนซ์ ซึ่งมีประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันถึง 4 ประเทศคือ เมียนมาร์ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย สำหรับกีฬาเอ็นดูแรนซ์นี้ เจ้าภาพ เมียนมาร์ ตั้งความหวังที่จะคว้าเหรียญทองให้ได้ ส่วนมาเลเซียเป็นตัวเต็งของประเภทนี้ด้วย

จับฉลาก

เริ่มในวันที่ 9 ธค. โดยตัวแทนในแต่ละทีมทำการจับฉลากม้าที่ถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มๆคือ A,B,C,D ที่ทางผู้จัดทำการจัดกลุ่มม้าให้มีความเท่าเทียมกันในแต่ละกลุ่ม ผลการจับฉลาก ทีมไทยได้ม้ากลุ่ม D  และหลังจากนั้นในช่วงบ่าย แต่ละทีมสามารถฝึกซ้อมกับม้าของตนเองได้ เป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมง และทดสอบในเส้นทางได้อีก 10 กม.

Draw of Endurance Horses

Thailand Endurance Team

การแข่งขัน

เริ่มในเวลา 20.00 น. ของวันที่ 10 ธค. ซึ่งเป็นการปล่อยตัวระหว่างการจัดงานเลี้ยงต้อนรับคณะนักกีฬาจากทุกประเทศ ทำให้มีผู้ชมร่วมปล่อยม้าเป็นจำนวนมาก 

การแข่งขันถูกแบ่งออกเป็นสามช่วง โดยในแต่ละช่วงนักกีฬาจะต้องนำม้ามาให้คณะกรรมการและสัตว์แพทย์ตรวจ โดยม้าที่มีอัตราการเต้นของหัวใจเป็นปกติและไม่มีอาการบาดเจ็บ จะสามารถไปต่อได้

ทีมไทย

นักกีฬาของไทย 2 คนตรวจม้าไม่ผ่านในรอบแรก (36 กม.) และอีกสองคนถูกออกจากการแข่งขันในรอบที่สอง หลังจากทำเวลาเข้ามาเป็นอันดับที่ 1 และอันดับที่ 2 ในรอบแรกด้วยความเร็วเฉลี่ย 16.49 km/hr และ 14.20 km/hr ทำให้นักกีฬาไทยทั้ง 4 คนไม่จบการแข่งขันในครั้งนี้

Endurance Team Gold for the "Unbeatable" Malaysia 

ผลการแข่งขันในครั้งนี้ เหรียญทองตกเป็นของตัวเต็งมาเลเซียที่เหลือนักกีฬาเพียง 3 คน ทำเวลารวมไปทั้งสิ้น 21.23.39 ชม. ความเร็วเฉลี่ยของมาเลเซีย อยู่ที่ 10-12 km/hr  ส่วนเหรียญเงินเป็นของเจ้าภาพที่เหลือนักกีฬาเพียง 3 คนเช่นกัน โดยมีเวลารวมทั้งสิ้น 26.12.35 ชม. และมีความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 9-10 km/hr  สุดท้าย เหรียญทองแดง ตกเป็นของทีมอินโดนีเซียที่เหลือนักกีฬาเพียง 2 คน


Dressage :: โชคไม่เข้าข้าง

ศิลปการบังคับม้าเป็นประเภทที่สองในการแข่งขัน โดยมีประเทศที่เข้าร่วมถึง 6 ประเทศ  ได้แก่ เมียนมาร์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย กัมพูชา สิงค์โปร์ (ขาดก็แต่ฟิลิปปินส์ที่ส่งแค่ทีมกระโดด) แต่ละทีมสามารถส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันได้ 4 คน โดยจะคิดคะแนนที่ดีที่สุดสามอันดับแรกไปรวมเป็นคะแนนของทีม หลังจากนั้นก็จะคัดนักกีฬาที่ทำผลงานได้ดีที่สุดสองอันดับจากการแข่งขันรอบทีม รวมทั้งสิ้น 12 คน เพื่อไปแข่งในประเภทบุคคล

จับฉลาก

การจับฉลากของเดรสซาจแตกต่างจากประเภท Endurance โดยเจ้าภาพแบ่งม้าออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือม้านำเข้า(ออสเตเลีย)และม้าท้องถิ่น ซึ่งในแต่ละทีมจะจับฉลากม้า 3 ตัวจากกลุ่มม้านำเข้าและอีก 1 ตัวจากกลุ่มม้าท้องถิ่น 

ทดลองม้า

นักกีฬาแต่ละทีมจะได้ฝึกซ้อมกับม้าเป็นระยะเวลา 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมง ในระหว่างนี้แต่ละทีมก็จะทำการลองม้าเพื่อหานักกีฬาและม้าที่เหมาะสมกัน ซึ่งในแต่ละทีมก็จะพบกับปัญหาม้ายากและม้าตื่น (ม้านำเข้าจากออสเตรเลีย เดินทางมาถึงเพียงสามสัปดาห์ก่อนแข่ง และเป็นม้าชุดเดียวกับม้ากระโดด ทำให้ม้าม้ามีอาการอ่อนเพลีย ยังไม่คุ้นกับสภาพแวดล้อม และมีความเครียดสูง) อย่างไรก็ดี มีอยู่สองทีมคือ อินโดนีเซีย และ เมียนมาร์ ที่ต่างก็จับฉลากได้ม้าที่ค่อนข้างดีเกือบทั้งทีม

ส่วนม้าของไทยดูจะเป็นม้าที่มีปัญหามากที่สุด เพราะขี่ยาก และตื่นตลอดเวลา นักกีฬาไทยต้องช่วยกันแก้ปัญหาไปตลอดทั้งสามวันของการฝึกซ้อม จนหาคู่ที่เหมาะกันได้ และในระหว่างนั้นก็พยายามซ้อมม้าให้เข้าขากันมากที่สุด ซึ่งถือเป็นความโชคร้ายของทีมไทยที่จับได้ม้าชุดนี้ทำให้เสียเปรียบคู่แข่งอย่างมาก

Thailand Dressage Team during the practice ride

การแข่งขันในรอบทีม

เริ่มคนแรกที่เทวินทร์ มานะธัญญา ขี่ม้า CP Orego ซึ่งเป็นม้าที่ยากและไม่ยอมรับการควบคุม แต่เทวินทร์ก็ใช้ความสามารถควบคุมม้าออกมาได้อย่างดี และทำคะแนนออกมาได้ที่่ 59.586%

คนที่สอง หมุน นิธิภัทร เหง้าโอสา ได้ม้า Kinnordu Gyuana ที่ดูเหมือนจะมี movement ดีที่สุด แต่ไม่ยอมรับเหล็กปาก ทำให้ชอบสะบัดหน้า และในการเปลี่ยน transition มักมีอาการต่อต้านตลอด แต่สุดท้าย หมุนก็ประคองออกมาได้และจบที่ 57.551%

คนที่สาม เอ่ย ภัคจิรา ธงภักดิ์ ขี่ม้า Bundaruka Camego ซึ่งมีอาการดื้อมาตั้งแต่วันแรก เพราะจะชอบหยุดถอยหลังและวน ไม่ยอมไปข้างหน้า บวกกับชอบยกอีกต่างหาก ถือเป็นงานหนักของเอ่ย แต่วันแข่งเอ่ยสามารถขี่ม้าออกมาได้อย่างดีมาก เพราะม้าเชื่อฟัง และอยู่ในการควบคุมตลอด จนถึงก่อนจบเพียงนิดเดียว ม้าเกิดอาการช็อต หยุดเอาดื้อๆ และถอยหลังหมุนไปหมุนมา จนหลุดออกไปนอกรั้ว ทำให้เอ่ยต้องออกจากการแข่งขัน อย่างน่าเสียดาย เพราะถ้าไม่หลุดออกไป คะแนนน่าจะเกิน 65%

คนสุดท้าย พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ที่ขี่ม้า Htate Kwet ม้าพื้นเมืองตัวเล็กนิดเดียว โดยพระองค์หญิงสามารถสร้างผลงานได้อย่างดีเยี่ยม ควบคุมม้าได้อย่างแม่นยำ ตรงจุด และไหลลื่น กรรมการให้คะแนนถึง 63.069% ซึ่งเป็นคะแนนสูงสุดของทีม

แต่คะแนนรวมก็ยังไม่พอให้ทีมไทยได้รับเหรียญ โดยผลรวมคะแนนของไทยจบเป็นอันดับที่ 5 และห่างจากทีมสิงคโปร์ที่ได้เหรียญทองแดงถึง 11 คะแนน

 HRH Princess Sirivannavari Nariratana on Htate Kwet took the best score for Team Thailand at 63.069% and went on the Top 12 in Individual Round

Another Thai rider in Individual round, Dhewin Manathanya riding CP Orego.

ในรอบบุคคล

เดรสซาจประเภทบุคคล มีสองนักกีฬาไทย พระองค์หญิง และ เทวินทร์ เข้าร่วมแข่งขันกับนักกีฬาต่างชาติอีก 10 คน  มาถึงวันนี้ ตัวเก็งอย่างอินโดนีเซียที่คว้าทองประเภททีมไปเมื่อวันก่อนเริ่มจะแผ่ว และม้ามีอาการเกร็ง  ทำให้ดาวรุ่งจากมาเลเซีย อย่าง Praveen Nair ซึ่งขี่ม้า Sein Win Mal เป็นตัวสุดท้ายของการแข่งขัน แซงโค้งสุดท้ายไปได้อย่างพลิคล็อค จบการแข่งขัน มาเลเซียทำผลงานได้ดีที่สุดคว้าเหรียญทองไปครอง ส่วนนักกีฬาจากอินโดนีเซียตกไปอยู่ที่อันดับสองและสามอย่างน่าเสียดาย 


บทสรุป หลังจบ Endurance & Dressage

มาถึงจุดนี้ได้ดูการแข่งขันของแต่ละทีม คงพอจะสรุปได้ว่า ในการแข่งขันม้าจับฉลาก นอกจากจะต้องพึ่งพาโชคชะตาแล้ว การบริหารจัดการและการวางแผนกลยุทธการขี่ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก 

ยกตัวอย่างในการแข่งขัน Dressage ทีมอินโดนีเซียที่สามารถวางแผนการฝึกซ้อมหลังจากได้ม้ามาอย่างดี จนทำให้คว้าเหรียญทองประเภททีมไปครอง และใครๆก็นึกว่าเหรียญทองบุคคลต้องไม่หลุดไปไหน แต่แล้วการฝึกซ้อมที่ผ่านมาถึง 4 วัน ทำให้ม้าของทีมอินโดอ่อนเพลีย อ่อนล้า จึงไม่สามารถรักษาฟอร์มการแข่งไว้ได้ และปล่อยให้มาเลเซียแซงไปได้ในรอบบุคคล  นอกจากนี้ ยังมีเคสของทีมมาเลเซียที่ซ้อมหนักเกินไป จนม้าสองตัวมีอาการบาดเจ็บ ทำให้ผลคะแนนตอนแข่งออกมาไม่ดีนัก ในทางกลับกัน ทีมสิงค์โปร์ซึ่งได้ม้ายากมาก กลับสามารถบริหารการขี่และใช้เวลาที่มีอยู่สามวัน ฝึกจนม้าออกมาได้ดีและเป็นส่วนช่วยให้ได้เหรียญทองแดงในที่สุด

Indonesia took Team Gold for Dressage SEA Games 2013. Silver and Bronze went to Myanmar and Singapore.

Praveen Nair from Malaysia won the Individual Gold for Dressage Individual at 67.405%.

หรือ แม้แต่ในส่วนของEndurance ที่ทีมเมียนมาร์มีการวางแผนที่จะขี่ช้าเพื่อให้นักกีฬาสามารถกลับมาครบทั้งทีมได้  ซึ่งเป็นไปตามคาดเมื่อจบการแข่งขันทีมอินโดนีเซียและไทยมีสมาชิกไม่ครบทีม เจ้าภาพจึงคว้าเหรียญเงินไปครองอย่างอัตโนมัติ

สิ่งเหล่านี้เป็นประสบการณ์สำคัญ ซึ่งถ้าสังเกตให้ดีก็จะได้เห็นว่าแต่ละทีมมีปัญหาที่แตกต่างกัน ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาก็แตกต่างกันไปด้วยเช่นกัน ถึงแม้การจับฉลากจะต้องพึ่งพาโชคชะตา แต่เมื่อได้ม้ามาแล้ว ต้องมาวิเคราะห์และวางแผนอย่างถ้วนถี่เพื่อพาทีมให้ประสบความสำเร็จ 

งานนี่้ี ต้องขอชมเมียนมาร์ที่วางแผน และทำงานหนักจนประสบความสำเร็จจากการแข่งขันขี่ม้าสองประเภทแรกนี้

ส่วนทีมไทยเรายังเหลือการแข่งขันกระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง อันเป็นความหวังสุดท้ายที่จะคว้าเหรียญในซีเกมส์ครั้งนี้  ต้องมาช่วยกันอวยพรให้นักกีฬาจับฉลากม้าออกมาดีกันครับ เพราะทีมกระโดดเราก็ไม่เป็นรองใครในภูมิภาค


*****

Photo Album:

Part 1  (All team arrived/Draw of horses for endurance& dressage/Dressage trial ride/Opening Ceremony)

Part 2  (Endurance 80 km/Endurance Medal Presentation)

Part 3  (Dressage practice in Warm Up Arena/ Dressage Horse Inspection)

Part 4 (Dressage Team & Individual Competition) 

No comments:

Post a Comment